กระแดด อันตรายหรือไม่
กระแดด คืออะไร? อันตรายหรือไม่? รักษาอย่างไร? กระแดดสามารถพบได้บ่อยถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ในคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี การ รักษากระแดด ต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญ และต้องดูแลตนเอง
กระแดดคืออะไร?
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่ากระแดด เป็นหนึ่งในรอยโรคที่เกิดจากแสงแดดโดยรอยโรคที่พบได้บ่อยถึง 90 เปอร์เซ็นต์ในคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ซึ่งจะพบมากในบริเวณที่เจอ แสงแดด เช่น ใบหน้า มือ หลังแขน เป็นต้น ซึ่งส่งผลทำให้ผู้ป่วยเกิดความกังวลและส่งผลถึงรูปลักษณ์ที่ไม่สวยงาม
กระแดดมีลักษณะอย่างไร?
จากแสงคลื่นช่วงแสง อัลตราไวโอเลต และช่วงแสงความร้อน ส่งผลทำให้เซลล์เม็ดสีเมลานินที่อยู่ในชั้นผิวหนังชั้นบนเกิดการขยายตัวมีขนาดใหญ่มากขึ้นและมีสีเข้มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้รอยโรคมีลักษณะ เป็นสีน้ำตาลเข้ม ขอบชัดลักษณะเป็นวงรี บางครั้งมีรูปร่างและสีเข้มเหมือนตับ โดยอาจจะมีขนาดใหญ่ ได้ถึง 6 เซนติเมตร โดยจะพบได้บ่อยที่บริเวณใบหน้า ไหล่ แขน และหลังมือ ในรายที่มีประวัติเจอแสงแดดมาเป็นเวลานานๆ
กระแดดอันตรายหรือไม่?
ส่วนใหญ่แล้ว กระโดยทั่วไปจะไม่เป็นอันตรายใดๆ ต่อร่างกายในระยะยาว แต่ถ้าสังเกตเห็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับกระ โดยเฉพาะกระที่เกิดขึ้นบริเวณไหล่ และช่วงอก มีกระเกิดขึ้นใหม่มากมายอย่างกะทันหัน หากเป็นกระเนื้อที่มีคล้ำมาก จะแยกอาการยากจาก มะเร็งผิวหนัง ดังนั้นเราควรปรึกษาแพทย์ดีที่สุด
วิธีรักษากระแดด
แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการ สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การรักษากระแดดนั้น สามารถรักษาได้ดังนี้ แทงมวย
- การรักษาด้วยยาทาเฉพาะที่กลุ่ม ยาทาลดรอยดำ เช่น hydroquinone, tretinoin, adaptable สามารถลดรอยดำได้ รวมถึงการใช้ กรดลอกผิว ในความเข้มข้นที่ต่างๆ กัน ที่มีฤทธิ์ในการลอกผิวหนังชั้นบน พบว่าได้ผลดีในการรักษากระแดดรวมถึงรอยโรคจากแสงแดดชนิดอื่นๆ แต่ต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญ ไม่แนะนำให้ซื้อมาทำเอง
- การรักษาด้วยการใช้ไนโตรเจนเหลว เลเซอร์เม็ดสีโดยการใช้ไอเย็น และเลเซอร์รักษานั้น อาจจะต้องทำหลายครั้งแต่ละครั้งจะมีแผลที่ตกสะเก็ด ถ้าเลี่ยงแดด และดูแลแผลไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดรอยดำมากขึ้น หรือทำให้เกิดรอยขาวได้
การรักษาส่วนใหญ่จะสามารถทำให้รอยโรคจางลง หรือหายไปได้ชั่วคราว และมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ค่อนข้างบ่อย แต่ส่วนใหญ่จะมีสีที่จางลงมากกว่าก่อนการรักษาถ้าได้รับการรักษา และการดูแลแผลหลังการรักษาที่ถูกต้อง ดังนั้นก่อนทำการรักษาควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผิวหนัง เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม
สนับสนุนโดย : slotxo / สล็อต / ความงาม / สล็อตXO / Slotxo / ลดหน้าท้อง