รัก (แท้) รักคืออะไร

รัก (แท้) รักคืออะไร

รัก (แท้) รักคืออะไร… สำรวจโลกของความรักที่ทำใจร้าวและใจเต้นรัว

หากคุณอยากดำดิ่งในรักที่น่าหลงใหลให้อ่านบทกวี เมื่อรักนั้นคลายความเร่าร้อนลงให้อ่านงานจิตวิทยา แต่ถ้าหากคุณเพิ่งอกหักมาและอยากหยุดพักรักสักระยะ ลองหันไปหางานปรัชญาดู นี่คือคำแนะนำสำหรับคนที่อยากเข้าใจความรักให้มากขึ้นโดยโจนาธาน เฮดต์ (Jonathan Haidt) นักจิตวิทยาสังคมชาวอเมริกัน แต่ก่อนที่จะพาไปสำรวจความรักในแง่มุมต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมา เราอยากจะเริ่มต้นไปที่เรื่องของ “ความรัก” “วันวาเลนไทน์” และ “ยอดขาย” กันเสียก่อน

คงเป็นเรื่องไม่โรแมนติกนักที่จะบอกว่า ความรักถูกใช้เพื่อการขายได้ง่ายมาก โดยเฉพาะช่วงใกล้เทศกาลเฉลิมฉลองวันแห่งความรัก ซึ่งเป็นช่วงที่สามารถสร้างยอดขายได้มหาศาล โดยปีนี้ National Retail Federation คาดว่าจะมีผู้บริโภคจับจ่ายซื้อสินค้า

และบริการแทนคำบอกรักอย่างขนมหวาน การ์ด ดอกไม้ เครื่องประดับ ฯลฯ เป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 27.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่หากไม่นับว่าความรักสามารถตีค่าได้ด้วยราคา แต่มองไปที่ความรู้สึกล้วน ๆ ก็ยากจะปฏิเสธว่า ความรักโรแมนติกนั้นมีอานุภาพที่รุนแรงและเป็นหนึ่งในความรู้สึกที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก

“รอบโลกใบนี้ ผู้คนต่างมีความรัก พวกเขาร้องเพลงเพื่อความรัก เต้นเพื่อ ความรัก แต่งกลอนและเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความรัก เล่าเรื่องปรัมปราและตำนานเกี่ยวกับความรัก เศร้าโศกเพราะรัก มีชีวิตอยู่ก็เพื่อรัก เข่นฆ่าเพื่อรัก และยอมตายเพื่อความรัก” เฮเลน ฟิชเชอร์ (Helen Fisher) นักชีวมานุษยวิทยากล่าวถึงอิทธิพลของความรักไว้กว้าง ๆ บนเวทีเท็ดทอล์กในหัวข้อ “The Brain in Love” ได้อย่างเห็นภาพชัดเจน เธอยังบอกอีกว่าในงานศึกษาทางมนุษยวิทยาได้พบหลักฐานเกี่ยวกับรักโรแมนติกในสังคมมนุษย์ถึง 170 กลุ่ม และไม่เคยพบกลุ่มสังคมไหนเลยที่จะไม่มีเรื่องรักโรแมนติกมาเกี่ยวข้อง 

รัก (แท้) รักคืออะไร มาถึงจุดนี้คงไม่มีใครกล้าเถียงว่ามนุษย์ต้องการที่จะมีรัก แต่คนเคยมีความรักก็น่าจะรู้ซึ้งดีว่า ความรู้สึกรักใช่ว่าจะเป็นประสบการณ์ที่หอมหวานเสมอไป และอันที่จริงแล้ว หากคุณเคยรักและอกหักเข้าอย่างจัง ความเจ็บปวดทางอารมณ์ที่รู้สึกราวกับว่าหัวใจแหลกสลาย ก็ส่งผลต่อสมองและพฤติกรรมของเราได้อย่างคาดไม่ถึงเลยทีเดียว

“The sweetest joy, the wildest woe is love.” Philip James Bailey
รักคือสุขล้นและรักคือทุกข์แทบคลั่ง

หากจะให้เห็นภาพชัด นักจิตวิทยามักอธิบายว่าการมีความโรแมนติกก็เหมือนการใช้สารเสพติดที่ทำให้เรามึนเมา หมกมุ่น โหยหา และบางครั้งก็บิดเบือนความจริง เมื่อศึกษาสมองของคนมีแบบหลงใหลจะพบว่า ความรู้สึกโรแมนติกได้เปลี่ยนกิจกรรมในสมองที่รวมไปถึงส่วนที่มีการปล่อยโดปามีน สารสื่อประสาทที่ทำให้มนุษย์รู้สึกมีความสุข เหมือนกับการใช้โคเคน

หรือเฮโรอีนที่สามารถเพิ่มระดับโดปามีนในสมองเราได้อย่างไรอย่างนั้น ดังนั้น เมื่อคนเราอยู่ในห้วง จึงไม่แปลกที่พวกเขาจะเคลิบเคลิ้ม เปี่ยมพลัง และบางครั้งก็พร้อมจะเสี่ยงทำอะไร (โง่ๆ) แต่เมื่อผ่านไประยะหนึ่ง ที่เคยเร่าร้อนดั่งไฟก็ถึงคราวมอดไหม้ลง เหมือนกับสมองที่เลิกใช้ยา เราจะรู้สึกห่อเหี่ยว เจ็บปวด และสิ้นหวัง

มาถึงตอนนี้บางคู่ที่เชื่อในมายาคติรักแท้ชั่วนิรันดร์ พอตื่นจากความมึนเมาในรัก ก็อาจเห็นจุดบกพร่องของอีกฝ่ายเป็นครั้งแรก และอาจจะสรุปไปว่าคู่ของเขาหรือเธอไม่ใช่รักแท้ เพราะแพสชั่นได้หมดลงไปแล้ว และในกรณีนี้ที่ใครคนหนึ่งยังคงมึนเมาในฤทธิ์แห่งรัก

ก็ต้องทนแบกรับความเจ็บปวดแสนสาหัสจนรู้สึกราวกับหัวใจแหลกสลาย และเหมือนโลกทั้งใบได้พังทลายลงต่อหน้าต่อตา บางคู่บอกลากันตรงนี้ เพราะไม่อาจรู้สึกถึงความน่าหลงใหลของอีกฝ่ายเหมือนที่ผ่านมาก แต่ถ้าบางคู่ลองให้โอกาสรักแบบคู่ชีวิตที่อาจไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นเท่ากับรักแบบโรแมนติกได้เติบโต บางทีทั้งคู่อาจได้พบกับรักแท้

นักปรัชญาน่าจะรู้พิษสงของความรักโรแมนติกมานานกว่านักจิตวิทยา เพราะนักปรัชญาส่วนมากเชื่อว่ารักแบบหลงใหลเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์ขาดเหตุผลและไร้ตรรกะ และแม้เพลโตจะพาเราไปสำรวจแง่มุมความรักในงานเขียน “ซิมโปเซียม”  (Symposium) ที่ว่าไว้ว่า รักคือความปรารถนาเพื่อตามหาส่วนที่หายไปในชีวิต จากที่ครั้งหนึ่งมนุษย์เคยมีสี่แขน สี่ขา และสองหน้า จนวันหนึ่งพวกเขาเถียงกับพระเจ้า และซูสก็ตัดสินใจตัดมนุษย์ออกเป็นสองท่อน ตั้งแต่นั้นมาทุกคนก็ต้องตามหาอีกครึ่งที่หายไป ซึ่งหมายถึง “คู่ชีวิต” เพื่อเติมเต็มความรู้สึกสมบูรณ์อีกครั้ง แต่นี่ก็อาจไม่ใช่สารสำคัญเท่ากับตอนที่โสกราตีสในซิมโปเซียมบอกไว้ในภายหลังว่า รักอันลุ่มหลงนั้นก็ไม่ต่างจากโรคร้ายที่มีเป้าหมายเพียงเพื่อการสืบพันธุ์ แต่การจะมีรักที่สูงส่งขึ้นได้นั้น คือการไม่ได้รักเพียงความงามของร่างกายใครคนใดคนหนึ่ง แต่ต้องมีความสามารถที่จะรักความงามโดยทั่วไปด้วย ส่วนปรัชญาในลัทธิสโตอิก (Stoicism) ก็ปฏิเสธความรักโรแมนติกของคู่รักเช่นกัน เพราะแหล่งความสุขที่มาจากผู้อื่นไม่สามารถเป็นความสุขที่แท้จริงได้

“Love is to love someone for who they are, who they were, and who they will be.” Chris Moore
รักคือการรักในสิ่งที่เขาเป็น เคยเป็น และกำลังจะเป็น

มีคำพูดติดตลกของแดเนียล สลอสส์ (Daniel Sloss) สแตนด์อัพ คอมเมเดี้ยนชาวสก็อต ที่กล่าวไว้ในโชว์ของเขาว่า “คุณต้องรักตัวเองให้เป็นก่อนที่คุณจะยอมให้ใครมารักคุณ การโสดและอยู่คนเดียวไม่ผิด มันไม่ได้ผิดอะไรหากคุณจะอยากใช้เวลาค้นหาตัวเองก่อนที่จะออกไปสู่โลกของการเดต เพราะคุณจะนำเสนอตัวเองได้ยังไง ถ้าคุณยังไม่รู้ว่าคุณคือใคร มันไม่ได้ผิดที่จะอยากเห็นแก่ตัวสักพัก เพราะคุณมีเวลาที่เหลือทั้งชีวิตที่จะใช้ชีวิตอย่างไม่เห็นแก่ตัว ถ้าคุณรักตัวเองแค่ 20 เปอร์เซ็นต์ นั่นแปลว่า ถ้ามีใครเข้ามารักคุณเพียง 30 เปอร์เซ็นต์คุณก็จะคิดว่า ‘ว้าว นั่นเยอะจัง’ ทั้ง ๆ ที่มันไม่ถึงครึ่งด้วยซ้ำ แต่หากคุณรักตัวเองเต็มร้อย คนที่เข้ามารักคุณก็ต้องพยายามสุด ๆ เพื่อที่จะทำให้คุณรู้สึกพิเศษได้ และนั่นเป็นสิ่งที่ทุกคนควรได้รับ” คำพูดของแดเนียลน่าจะกุมใจคนโสดได้อยู่หมัด เพราะเขาได้นำเสนอคอนเซ็ปต์ของความรักที่ใจเย็นลง และหันกลับมาพิจารณาคุณค่าของตัวเองมากขึ้นก่อนที่จะกระโจนเข้าสู่เกมของความรัก

และเหมือนกับซีโมน เดอ โบวัวร์ (Simone de Beauvoir) นักปรัชญาสตรีชาวฝรั่งเศส ที่นำเสนอแง่มุมของความรักไว้เช่นกันว่า การพึ่งพาให้คนอื่นมาตัดสินการมีตัวตนของเราอย่างการมีความรักแบบหลงใหล จะนำไปสู่ความเบื่อหน่ายและการครอบงำในที่สุด

เพื่อจะหลีกเลี่ยงหลุมพรางนี้ เราควรมีรักเหมือนกับการมีเพื่อนที่ดี เป็นคู่รักที่ช่วยเหลือเกื้อกูลในการค้นพบตัวตนของกันและกัน รวมไปถึงการไปให้ได้มากกว่าตัวเอง ซึ่งจะช่วยให้ชีวิตของคู่รักอิ่มเอมและเต็มสมบูรณ์ไปด้วยกัน

“You come to love not by finding the perfect person, but by seeing an imperfect person perfectly.” Sam Keen
การจะรักไม่ใช่การมองหาคนที่เพอร์เฟ็กต์ แต่คือการมองเห็นคนที่ไม่เพอร์เฟ็กต์ซักคนเป็นคนที่สมบูรณ์แบบ

แน่นอนว่าการพูดเรื่องความรักให้สวยงามเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายกว่าการรักษาความสัมพันธ์ให้คงอยู่ได้ยาวนานมาก คำถามจึงอยู่ที่ว่า เราจะมีรักที่ดีขึ้นได้อย่างไร จอห์น ก็อตต์แมน (John Gottman) นักจิตวิทยาผู้ศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ของคู่แต่งงานมาอย่างยาวนานสามารถตอบคำถามข้อนี้ได้ เขาและทีมงานทำนายได้ว่าคู่แต่งงานคู่ไหนจะหย่าร้างกันได้อย่างแม่นยำถึง 90 เปอร์เซ็นต์

ด้วยการพิจารณาดูจากหลายปัจจัย แต่ข้อที่มีอิทธิพลที่สุดคือการดูว่าคู่สามีภรรยามีอิทธิพลต่อกันและกันมากแค่ไหน โดยเฉพาะในเรื่องขีดจำกัดของความอดทนต่อเรื่องทางลบที่มีต่ออีกฝ่าย เช่น สามีทนต่อความขี้บ่นของภรรยาได้แค่ไหน ภรรยาทนต่อการทำตัวน่ารำคาญของสามีได้แค่ไหน ฯลฯ โดยคนทั่วไปมักคิดว่าคู่แต่งงานที่มีความอดทนต่อกันมากจะสามารถใช้ชีวิตคู่ต่อไปได้อย่างยาวนาน แต่ความจริงกลับตรงกันข้าม

เพราะเป็นคู่แต่งงานที่มีความอดทนต่อกันต่ำต่างหากที่เป็นคู่แต่งงานที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตคู่มากที่สุด คู่รักประเภทนี้จะไม่ยอมให้ปัญหาเล็ดลอดสายตา พวกเขาจะปล่อยให้อีกฝ่ายได้บ่น พยายามปรับปรุงตัว และรักษาความสัมพันธ์ของกันและกันอย่างต่อเนื่อง ไม่ทนและปล่อยให้ปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ กลายเป็นเรื่องใหญ่ คู่แต่งงานในลักษณะนี้จึงมีโอกาสมากกว่าที่จะมีความสัมพันธ์ต่อไปได้อย่างยาวนาน

Cr : slotxo / สล็อต / สูตรอาหาร แทงบอลออนไลน์ ที่นี่ betufa SLOT