เทคนิคการถ่ายรูป

เทคนิคการถ่ายรูป รวมทริคการถ่ายรูป

เทคนิคการถ่ายรูป เบื้องต้น สำหรับมือใหม่ นี้ไม่ว่าเราจะเป็นมือใหม่ หรือว่าจะเป็นคนที่มีประสบการณ์ถ่ายภาพมาบ้างแล้ว แต่เชื่อว่าทิปส์ทั้ง 10 อย่างนี้จะช่วยปรับปรุงการถ่ายภาพของเราให้ออกมาดีขึ้นแบบง่าย ๆ กันเลยทีเดียว ซึ่งเป็นพื้นฐานหลาย ๆ อย่างที่ทำให้เราเข้าใจการถ่ายภาพมากขึ้น

เทคนิคการถ่ายรูป

1. กฎสามส่วน หรือ RULE OF THIRD ซึ่งในต่างประเทศใช้ RULE OF THIRD หมายถึงทั้ง กฎสามส่วน และ จุดตัดเก้าช่อง

กฏนี้ช่วยให้เราถ่ายภาพที่น่าสนใจ สะดุดตาได้ โดยกฎสามส่วน และจุดตัดเก้าช่องนี้ เป็นพื้นฐานที่ยังไงก็ต้องสัมผัสและเข้าใจให้ได้ ซึ่งภาพที่ดูน่าสนใจนั้นใช้การจัดองค์ประกอบภาพโดยใช้กฎสามส่วน และจุดตัดเก้าช่องแทบทั้งนั้นเลย ในการใช้ Rule of Third ให้เราจินตนาการถึงเส้นสี่เส้น แนวนอนสอง และแนวตั้งสอง

โดยทั้งหมดนี้จะสร้างเป็นตาราง 9 ช่องด้วยกัน ซึ่งการจัดวางตำแหน่งที่เหมาะสมนั้นก็ตามนั้นเลย ที่เราเรียกจุดตัดเก้าช่องเพราะเราจะวางวัตถุหรือสิ่งที่น่าสนใจไว้ตรงจุดตัดนั่นแหละ ไม่ว่าเราจะถ่ายภาพต้นไม้ ขอบฟ้า ถ้าเราวางจุดสนใจไว้ตรงจุดตัดก็จะทำให้คนดูเพ่งความสนใจไปตรงนั้นนั่นเอง

ซึ่งการใช้กฎสามส่วนหรือ Rule of Third นี้ เป็นเรื่องจำเป็นมาก ๆ สำหรับการเริ่มต้นถ่ายภาพให้ดูสมดุลและมีความน่าสนใจ หากอยากจะลงลึกกว่านี้เรื่องการใช้ กฎสามส่วน และจุดตัดเก้าช่อง สามารถอ่านเพิ่มได้จากทั้งสอบบทความนี้ครับ

เทคนิคการถ่ายรูป

2. หลีกเลี่ยงการที่ทำให้กล้องสั่นไหว การทำให้เกิดภาพเบลอ (ควรเข้าใจด้วยว่าทำไมภาพนี้ถึงชัด ภาพนี้ถึงเบลอ เกิดจากอะไร?)

กล้องสั่นหรือเบลอ เป็นสิ่งที่คนถ่ายรูปไม่ว่าจะเริ่มต้นหรือมีประสบการณ์แล้วต้องเซ็งแน่ ๆ แต่สำหรับ มือใหม่ นี่คือวิธีที่หลีกเลี่ยงเรื่องการสั่นไหวของกล้องหรือเบลอได้ ขั้นแรก เราก็ต้องเรียนรู้การถือกล้องอย่างถูกต้อง (เบสิกสุด) ใช้มือทั้งสองข้างถือกล้องไว้ ด้านขวาจับที่กล้องและ Grip ให้กระขับมือ

ส่วนมือซ้ายประคองเลนส์ไว้ อันนี้พื้นฐานหลายคนก็รู้แล้วแหละ แต่ก็ยังมีอีกเรื่องนึง การถ่ายภาพด้วยการถือกับมือเปล่า ๆ ควรตรวจสอบว่าเราใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมกับทางยาวโฟกัสของเลนส์เราไหม

หากความเร็ว ชัตเตอร์ ของเราช้าเกินไป การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นตัวกล้องเอง หรือมือเรา มันก็จะทำให้ภาพออกมาเบลอ กฎง่าย ๆ ที่ไม่ควรลืมคือ ถ้าจะถือด้วยมือเปล่าอย่าใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำกว่าทางยาว โฟกัส ดังนั้นถ้าเราใช้เลนส์ระยะ 100mm ความเร็วชัตเตอร์เราก็ไม่ควรจะต่ำกว่า 1/100 ครับ

ในกรณีที่ถือกับมืออะนะ เว้นแต่ว่ากล้องจะมีระบบชดเชยกันสั่นที่ดี หรือใช้ถ่ายภาพกับขาตั้ง ก็สามารถชดเชยตรงนี้ได้ แต่ในประเด็นนี้ให้เข้าใจก่อนว่า ความเร็วชัตเตอร์ไม่ควรน้อยกว่าทางยาวโฟกัสครับ

เทคนิคการถ่ายรูป

3. ทำการบ้านเรื่อง EXPOSURE TRIANGLE ความสัมพันธ์ของสามค่า SHUTTER SPEED – ISO – APERTURE

นอกจากนี้เรายังจำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมทั้งสามค่านี้ เมื่อเราปรับตัวเลือกเหล่านี้สักตัว เราก็ต้องเข้าใจว่ามันจะกระทบอะไรกับภาพถ่ายของเรา หรือกระทบกับค่าอื่น ๆ ที่เหลือหรือเปล่า ดังนั้นเรื่อง Exposure Triangle เลยเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ ดังนั้นถ้าหากว่าเราอยากจะอ่านเพิ่มเติมเรื่องนี้ผมทำไว้เรียบร้อยแล้วครับ

เทคนิคการถ่ายรูป

4. ใช้ POLARIZE FILTER หรือฟิลเตอร์สำหรับตัดแสงสะท้อน

ฟิลเตอร์ สำหรับตัดแสงสะท้อนหรือว่า PL Filter จะทำให้ภาพของเราลดการสะท้อนจากโลหะและแก้วลง แล้วยังเพิ่มสีสันให้กับท้องฟ้า ทำให้ภาพของเราดูมีสีสันและมีมิติมากขึ้น สำหรับคนที่ไม่เคยใช้ผมแนะนำลองหามาใช้ดูครับ รับรองว่าภาพที่ได้ โทนสี รายละเอียดภาพที่เคยหายไปเพราะแสงสะท้อน จะกลับมา และทำให้ภาพของเรามีรายละเอียดที่เยอะมากขึ้น

เทคนิคการถ่ายรูป

5. ถ่ายภาพให้เห็นความชัดของฉากหลัง สื่อถึงมิติที่ลึกลงไป โดยเฉพาะการถ่ายภาพวิวกับคน

เมื่อเรา ถ่ายภาพทิวทัศน์ (ภาพวิวนั่นแหละ) เรามักจะให้รายละเอียดกับความคมชัดทั้งภาพ การใช้ เลนส์มุมกว้าง สำหรับเก็บรายละเอียดกว้างมาก ๆ เข้าไปในภาพก็เป็นเรื่องที่เหมาะเหมือนกันที่จะให้ภาพเราเห็นถึงความลึกของภาพ หรือถ้าเราไม่มีก็เลือกใช้รูรับแสงที่แคบหน่อยเพื่อที่จะให้ระยะชัดครอบคลุมทั่วทั้งภาพ ถ้าหากว่าแสงเข้ากล้องน้อยเกินไป (หากถ่ายช่วยแสงน้อย และใช้รูรับแสงแคบ) ก็ควรมีขาตั้งด้วยครับ

เทคนิคการถ่ายรูป

7. อย่าเพิ่งรีบใช้แฟลช ให้ลองตั้งค่าถ่ายแบบไม่ต้องใช้แฟลชก่อนก็ได้ (ลองอ่านเหตุผลดู)

แฟลชแม้ว่าจะสามารถเปิดรายละเอียดของส่วนมืดได้ (ถ้าหากว่าแสงแฟลชไปถึงและใช้อย่างเหมาะสม) แต่ว่า การถ่ายภาพ ในการอาคารร่วมกับการใช้ แฟลชสำหรับมือใหม่ ที่ยังไม่เคยฝึกการใช้แฟลชอย่างจริง ๆ จัง ๆ แฟลชอาจจะสร้างปัญหาให้เราได้ ทั้งวิธีการถ่าย การเบาซ์แฟลช เป็นต้น แล้วทำไงล่ะ ง่าย ๆ คือยังไม่ต้องใช้ครับ การถ่ายภาพในอาคารด้วยแสงธรรมชาติมันก็สวยนะ แล้วจัดการได้ง่าย วิธีการคือแรก ๆ ให้เราใช้รูรับแสงกล้องที่กว้างที่สุดก่อน จากนั้นเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สัมพันธ์กับเลนส์ครับ แล้วก็เพิ่ม ISO ให้เหมาะสม อาจจะต้องดัน ISO บ้างเพื่อให้กล้องไวต่อแสงมากขึ้น แต่ก็เป็นเรื่องง่ายที่สุดสำหรับมือใหม่ แค่นี้เราก็ถ่ายภาพได้เลยโดยที่ไม่ต้องใช้แฟลชครับ (เว้นแต่โจทย์เราต้องการจะใช้แฟลชจริง ๆ จัง ๆ อันนั้นอีกเรื่องนึงละ) นอกจากนี้ถ้าหากว่ากล้องเรามีระบบกันสั่นจะช่วยให้เราใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำกว่าทางยาวโฟกัสได้บ้าง ซึ่งนั่นก็แล้วแต่ครับว่ากล้องแต่ะละตัวชดเชยระบบกันสั่นได้แค่ไหน

เทคนิคการถ่ายรูป

8. ลองใช้เทคนิคถ่ายภาพ PAN & MOTION

หากเราต้องการจับภาพวัตถุที่เคลื่อนไหว ให้เราลองใช้เทคนิค Pan & Motion ดู เมื่อเราต้องการทำแบบนี้ให้เราเลือก ความเร็วชัตเตอร์ ต่ำกว่าปกติ เช่น ถ้าเราจะหยุดภาพคนขี่ จักรยาน ด้วยความเร็วชัตเตอร์ 1/250 เราลองเลือกใช้สัก 1/60 ดู จากนั้นให้กดชัตเตอร์ลงครึ่งนึงเพื่อล็อค โฟกัส จากนั้นเวลาถ่ายให้เราแพนกล้องตามวัตถุ หรือคนที่ขี่จักรยานนั่นแหละ แล้วก็กดชัตเตอร์ จะทำให้เกิด เอฟเฟกต์ภาพ Pan & Motion ขึ้น

ที่มา : สล็อต / Slotxo / epic win แทงบอลออนไลน์ ที่นี่ W88 สูตรบาคาร่า